วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จงตอบคำถาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.6

1. คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อย่างไรบ้างจงอธิบาย

เช่น  จอภาพเเละลำโพงเหมือนกับการพูดจากปากการเขียนต่างๆกับมือ  ซีพียูเหมือนกับสมองที่เก็บ

ข้อมูล  หรือเมาส์ที่ใช้คลิกสั่งการเหมือนกับสมองเช่นกัน  เเป้นพิมพ์เหมืนกับมือที่พิมพ์ให้เป็นตัวเลขหรือ

ข้อความเช่นเดียวกับการขีดเขียนด้วยมือ   หูฟังเหมือนกับหูของคนที่ใช้รับฟังสิ่งต่างๆ
 
 2. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ จงอธิบาย

หุ่นยนต์สามารถช่วยอะไรมนุษย์ได้หลายอย่าง ให้ความสะดวกสบายในการทำงาน เช่น ถ้ามีการสร้าง

หุ่นยนต์ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ  มันก็จะมีปุ่มสั่งการไปหยิบของมาให้เราโดยพนักงานไม่ต้องทำอะไร

เลย หรือจะเป็นการผลิตสินค้าก็มีหุ่นยนมาทำงานเเทนมนุษย์โดยเพียงมนุษย์คอยสั่งการก็พอดู

เเล้วการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ก็มีประโยชน์มากเหมืนกัน

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

มีกระบวนการทำงานคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ทำงานโดยมีกระบวนการตามขั้นตอน ดังนี้
1. หน่วยรับเข้า เป็นจุดเริ่มต้นโดยผู้ใช้ป้อนข้อมูล ระบุโปรแกรม เลือกคำสั่ง และแสดงการตอบสนอง เช่น เปิดเครื่องเลือกโปรแกรม และพิมพ์งานด้วยแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอ
หน่วยเก็บความจำ มี 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำสำรอง เป็นตัวเก็บสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกป้อนเข้ามา
2. หน่วยความจำหลัก เมื่อสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกป้อนเข้ามา มีคำสั่งให้ประมวลผลข้อมูลเหล่านี้จะ
ถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลก่อน แล้วจึงถูกส่งมาเก็บที่หน่วยความจำหลัก
3. หน่วยประมวลผล เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับมาคำนวณตามคำสั่ง แล้วส่งผลไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก 
4. หน่วยส่งออก มีหน้าที่แสดงผลของข้อมูลที่จัดเก็บ และผลที่ได้จากการประมวลผล
แล้วส่งออกมาในรูปของรายงาน ภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ
  ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผลหน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผลหน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคตซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น

2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
         เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder)

นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ 1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็มฯ
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้

ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ

   ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า

นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูล



ฮาร์ดดิสค์
 


ดีวีดี    
             ดีวีดี (อังกฤษ: Digital Versatile Disc; ชื่อย่อ DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน    (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า

    ดีวีดี

   

ซีดี
     แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นออฟติคอลเก็บข้อมูล
ดิจิทัลต่าง ๆซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึก
เสียงทางการค้าในปัจจุบัน


ซีดี


ไมโครชิพ (Microchip)

    ไมโครชิพ (Microchip) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กมาก แต่ประโยชน์ของมันนั้น
มีมากมายเรามาดูกันดีกว่า ว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการฝังไมโครชิพนั้น มีอะไรบ้าง

กรณีสุนัขหายหรือถูกขโมย

การซื้อขายไม่ผิดตัว

การพัฒนาสายพันธุ์

 การทำทะเบียน

ไมโครชิพ


แฟลชไดรฟ์

       ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (อังกฤษ: USB flash drive) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูล
โดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 1 GB ถึง 256GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลาย
ระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP/Vista แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์
แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น
โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
 

 แฟลชไดรฟ์


วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของข้อมูล






ประเภทของข้อมูลข้อมูลมีหลายประเภท ดังนี้

                            ขนมเค้ก

 1. ข้อมูลตัวอักษร

คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ

ภาษาต่างประเทศ เช่่น ทะเบียนรถยนต์ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรทัศน์ บ้านเลขที่ เป็นต้น
img8.gif
    
2. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข

คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ในการคำนวณได้ เช่น คะแนนจำนวนเงิน ราคาสินค้าเป็นต้น
                                        

                              
      

3. ข้อมูลภาพ คือข้อมูลที่เป็นภาพอาจเป็นภาพนิ่ง เช่นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพ

จากวิดีทัศน์ เป็นต้น อาจเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นซีดี เป็นต้น
4. ข้อมูลเสียง คือ ข้อมูลที่รับรู้ด้วยการได้ยิน จัดเก็บอยู่ในสื่อคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลข้อมูล

เสียงด้วยลำโพง




การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ

ข้อมูลสารสาระสนเทศ


ข้อมูลและสารสนเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล ( data ) คือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคลสิ่ง หรือเหตุการณ์ที่สนใจมีความหมายอยู่ในตัวข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญ ระบบงานคอมพิวเตอร์ หากข้อมูลที่ป้อนให้กับคอมพิวเตอร์ผิดผลลัพธ์ที่ได้จะไม่มีคุณค่าอะไรเลย
คอมพิวเตอร์รู้จักข้อมูลเพียงสองลักษณะ คือ
1. ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ ( numeric ) ได้แก่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขล้วนๆและจะใช้ตัวเลขนั้นในการคำนวณ
2. ข้อมูลที่ไม่นำมาใช้ในการคำนวณ ( string ) ได้แก่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความที่ผสมตัวเลขช ตัวเลขล้วนๆแต่ไม่นำไปใช้ในการคำนวณเช่นอันดับที่ เลขประจำ บ้านเลขที่ เป็นต้น
ลักษณะของ ข้อมูล และสาระสนเทศ ปัจจุบันเป็นยุคที่สารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกๆคนอย่างเห็นได้ชัดอาจกล่าวได้ว่าความสำคัญของข้อมูลและใช้ข้อมูลมาตั้งอดีตกาลแต่ระดับและขอบเขตของการอาจใช้ข้อมูลสารสรเทศที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งคือวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวคิดเกี่ยวกับสารสรเทศ อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยพื้นฐานของกิจกรรมต่างๆของมนุษย์คือพลังงานวัตถุและสารสนเทศปัจจัยทั้งสามนี้ทำให้มนุษย์จัดหาสิ่งต่างๆที่มนุษย์ต้องการได้ เช่น เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยการคมนาคมขนส่งเป็นต้น ดังนั้น สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งปัจจัยหนึ่ง
ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ ข้อมูล ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำของทุกๆคนอย่างเห็นได้ชัดข้อมูลและสารสนเทศเป็นคำที่ใช้ควบคู่กันจนกระทั่งบางคนเข้าใจผิดว่าเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน
ข้อมูลคือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติแทนปริมารหรือการกระทำต่างๆที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูลอลู่ในรูปตัวเลขตัวหนังสือรูปภาพแผนภูเป็นต้น ข้อมูลจึงบอกเกี่ยวกับสภาพการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ปรากฎขึ้นและข้อมูลจะคงสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้นไม่ว่าจะมี่การนำไปใช้หรือไม่ก็ตามผูนำข้อมูลไปใช้จะต้องตัชีความหรือพิจารณาความหมายของข้อความเหล่านั้นเพื่อหาข้อสรุปเพื่อตัดสินใจต่อไป
สารสนเทศ สารสนเทศ ได้แก่ข้อมูลต่างๆที่ได้รับการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการต้างเป็นความรู้ที่ต้องการสำใช้ทะประโยชน์เป็นส่วนผลลัพธ์หรือเอาท์พุตของระบบการประมวลผลข้อมูล สารสนเทศ คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่อนั้นจนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น หากสารสรเทศใดไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ก็ย่อมถือได้ว่าไม่ใช่สารสนเทศของผู้นั้น
สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วโดยเน้นความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้เพื่อเป็นกานย้ำความเข้าใจ ตัวอย่าง
 1. ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว .
 2. ผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่ในการวางระยะปานกลางและดำเนินงานให้สำเร็จ
 3. ผู้บริหารระดับต้นรับผิดชอบดำเนินงานตามกำหนด
ข้อมูลและสาระสนเทศในความหมายผู้ใช้
ผู้ใช้ข้อมูลและสาระสนเทศจะรับรู้ข้อมูลและสารสนเทศที่ต่างกันไปทำให้มีหน้าที่ต่างกันไปด้วย
ลักษณะของสารสนเทศเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆอย่าง
จุดมุ่งหมายมี 5 ส่วนคือ
 1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ ป้อนเข้า
 2. การประมวลผลกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้
 3. การจัดเก็บ สะดวกต่อการใช้และปรับปรุงได้
 4. เทคโนโลยีช่วยในการเก็บข้อมูลประมวลผล
 5. สารสนเทศผลผลิตจะต้องถูกต้องตรงกับความต้องการ
แหล่งข้อมูล
1. แหล่งข้อมูลภายในองค์การประกอบด้วยข้อมูลของพนักงานในองค์การและเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงขององค์การข้อมูลได้มาจากแหล่งข้อมูลภายในนี้โดยไม่เป็นทางการเช่น การคุยกัน
2. แหล่งข้อมูลภายนอกองค์การ ข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลที่ได้มาจากการรวบรวมไว้แล้ว เช่น สถิติต่างๆ เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ
คุณสมบัติของข้อมูล
1. ความถูกต้อง หากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นจะไม่น่าเชื่อถือ ทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำที่สุด
2. ความรวดเร็วละเป็นปัจจุบันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีความตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว
3. ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการปฏิบัติ
4. ความชัดเจนและกะทัดรัด ควรออกแบบระบบโครงสร้างที่กะทัดรัดและสื่อความหมายได้ดี
5. ความสอดคล้อง ต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการหรือขอบเขตของหน่วยงานและองค์การ

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของฉัน


ชื่อ          ..ภัสราภรณ์  หลักเพชร
ชื่อเล่น     มะปราง                                         
เทวดาส่งมาประสูติ  25  มี.. 2542
อายุ        12 ปี
เพื่อนสนิท     อรนี่, กิ่งกี้, เเนนนี่,ออมอี้,นองนี่, ละมุด,แบมบู,
                   จาจา,สายบัว
สีที่ชอบ         เหลือง  เเดง  สุดๆคือเขียว
กีฬาที่like     เปตอง,วอลเลย์บอลตะกร้อ                      
เพลงที่ชอบ    ขอบคุณที่อยู่ข้างกัน
ดาราที่love     ณเดช,เคร จิระเดช,โดม ปกรณ์ ลัม,
                                     บอย ปกรณ์,พลอย เฌอมาลย์,
                      อ๋อม  อรรคพันธ์,พอลล่า
นักร้องที่love  ฟรุค(ซีควิน),ซี,เเบล็กเเจ็ค,มด(โฟร์  มด),ขนมจีน,เควิน (six),
                  กราฟ(เเบร็ควนิลา), บี้เดอะสตาร์,  กันเดอสตาร์
งานอดิเรก     ยำลูกล้อ(โกหก)
อนาคฆ         ยังมองไม่เห็น